HOME > ข่าวกฎหมาย

ข่าวกฎหมาย

【Q & A กฎหมายแรงงาน】

Q1:หลักเกณฑ์เรื่องชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างในประเทศไทยมีอย่างไรบ้าง?
A1:พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานได้กำหนดชั่วโมงการทำงานไว้ในกรณีการทำงานปกติไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ งานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

Q2. หลักเกณฑ์เรื่องวันหยุดประจำปีของลูกจ้างในประเทศไทยมีอย่างไรบ้าง?
A2. ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี กรณีลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจให้หยุดตามส่วนก็ได้ โดยให้ลูกจ้างบอกกล่าวล่วงหน้าหรือตามที่ได้ตกลงกัน นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมกับหยุดในปีอื่นก็ได้

Q3:ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้หรือไม่ว่าสัญญาจ้างแรงงานจะต้องทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
A3:สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะทำขึ้นด้วยวาจาหรือทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ดังเห็นได้จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652-2653/2529 ซึ่งวางบรรทัดฐานไว้ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 หาได้บัญญัติว่าสัญญาจ้างแรงงานจะต้องทำเป็นหนังสือไม่ เพียงแต่ตกลงจ้างและให้สินจ้างกัน สัญญาจ้างแรงงานย่อมเกิดแล้ว การที่ ส. กรรมการบริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้ทำงานให้บริษัทจำเลยและจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 ตลอดมาเป็นเวลา 4 เดือน ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าสัญญาที่ทำเป็นหนังสือดังกล่าว ส. ทำไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทจำเลยหรือไม่

Q4:พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้หรือไม่ว่านายจ้างจะต้องจัดให้มีข้อบังคับการทำงาน
A4:มาตรา 108 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานเป็นภาษาไทย และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้
(1) วันทํางาน เวลาทํางานปกติและเวลาพัก
(2) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
(3) หลักเกณฑ์การทํางานล่วงเวลาและการทํางานในวันหยุด
(4) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
(5) วันลาและหลักเกณฑ์การลา
(6) วินัยและโทษทางวินัย
(7) การร้องทุกข์
(8) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป และให้นายจ้างจัดเก็บสําเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสํานักงานของนายจ้างตลอดเวลา และให้ส่งสําเนาข้อบังคับให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 7 วันนับแต่วันประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กิจการใดที่นายจ้างมีลูกจ้างไม่ถึง 10 คน ก็ไม่จำเป็นต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

Q5:จะเป็นอย่างไรถ้านายจ้างจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้กับลูกจ้างรายวัน
A5:แม้ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท แต่กรณีลูกจ้างรายวัน ถ้าลูกจ้างทำงาน 20 วันในเดือนนั้น ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้าง 6,000 บาท ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด แต่ถ้าในสัญญาจ้างแรงงานมีข้อสัญญากำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนวันในเดือนนั้น

Q6:ลูกจ้างประจำและลูกจ้างพาร์ทไทม์มีสิทธิต่างๆแตกต่างกันหรือไม่?
A6:ไม่แตกต่าง กฎหมายแรงงานได้กำหนดว่าลูกจ้างทุกประเภทมีสิทธิเหมือนกันตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

Q7:หลักเกณฑ์ในเรื่องการลากิจมีอย่างไรบ้างและลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้กี่วัน?
A7:กฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดไว้ว่าลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้กี่วันและจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างหรือไม่ เพียงแต่กำหนดไว้ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ความว่าให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

Q8:ข้อดีของการทำสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างมีอะไรบ้าง
A8:พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 วรรคแรก บัญญัติไว้ว่า สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
1. สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลงทันทีเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง
หากนายจ้างกับลูกจ้างได้ทำสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ (เช่น ตกลงจ้างมีกำหนด 1 ปี) เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างดังกล่าว สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงทันที นายจ้างหรือลูกจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าต่อกันว่าสัญญาจ้างเป็นอันสิ้นสุด
2. ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานย่อมสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ ลูกจ้างไม่สามารถฟ้องร้องนายจ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยได้

Q9:นายจ้างสามารถจ้างแรงงานเด็กได้หรือไม่
A9:พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 44 บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 45 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเป็นลูกจ้าง ให้นายจ้างปฏิบัติดังนี้
(1) แจ้งการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน
(2) จัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ
(3) แจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน
คำว่า “เด็ก” ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ตามบทกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นลูกจ้าง ในขณะเดียวกันถ้ามีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเป็นลูกจ้าง นายจ้างก็ต้องแจ้งการจ้างลูกจ้างนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต้องจัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และต้องแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงาน

Q10:กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลาป่วยไว้อย่างไร
A10:พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 32 บัญญัติว่า ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
การลาป่วยตามบทบัญญัติข้างต้นได้กำหนดไว้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่เจ็บป่วยไม่สามารถมาทำงานได้จะได้หยุดงานโดยไม่ถูกนายจ้างลงโทษทางวินัยฐานขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ และในขณะเดียวกันก็คุ้มครองรายได้ของลูกจ้างในระหว่างที่หยุดงานนั้นด้วย
ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การแสดงหลักฐานการลาป่วยสำหรับลูกจ้างที่ลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานติดต่อกันขึ้นไป นายจ้างมีสิทธิเรียกให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์
มาตรา 57 วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน

Q11:หลักเกณฑ์ในที่นายจ้างจะสั่งพักงานลูกจ้างมีอย่างไรบ้าง?
A11:เมื่อลูกจ้างถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด นายจ้างมีสิทธิที่จะทำการสอบสวนลูกจ้างได้ แต่นายจ้างไม่สามารถสั่งพักงานลูกจ้างได้ทันทีในขณะสอบสวนเว้นแต่จะมีข้ออนุญาตปรากฎอยู่ในข้อบังคับการทำงานหรือข้อตกลงอื่นๆ จากนั้นนายจ้างต้องมีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุความผิด นายจ้างต้องแจ้งลูกจ้างก่อนการพักงานและในการพักงานนั้นต้องไม่เกิน 7 วัน นายจ้างต้องจ่ายเงินในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างต่อวันของลูกจ้างในระหว่างพักงาน

Q12:ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรหากลูกจ้างยังคงทำงานต่อไปอีกหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้างแรงงานแล้ว
A12:หากสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้างแรงงานแล้ว ลูกจ้างยังคงทำงานต่อไปอีกและนายจ้างรู้แต่ก็ไม่ได้ทักท้วง ให้สันนิษฐานว่านายจ้างกับลูกจ้างเป็นอันได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาจ้างเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 581 ถ้าระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างกันนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างยังคงทำงานอยู่ต่อไปอีก และนายจ้างรู้ดังนั้นก็ไม่ทักท้วงไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิม แต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้า และสัญญาจ้างใหม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้าง
มีตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2550 จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 5 ปี ตามสัญญาจ้างได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่าเมื่อจ้างกันครบกำหนด 5 ปีแล้ว จำเลยจะจ้างโจทก์ต่ออีกคราวละ 1 ปี ต่อเมื่อจำเลยได้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์เป็นที่พอใจแล้ว เมื่อสัญญาจ้างครบกำหนดจำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่ออีก 1 ปี โดยระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ว่า หากสิ้นสุดระยะเวลาว่าจ้างตามสัญญานี้แล้ว และมิได้มีการแจ้งให้ท่านทราบเป็นลายลักษณ์อักษรก็ให้ถือว่าการจ้างสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ ต่อมาหลังจากสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยหาได้แจ้งแก่โจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต่อสัญญาจ้างให้โจทก์อีกหรือไม่และจำเลยคงให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งเดิมและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตลอดมา การที่ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเช่นโจทก์จะต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานและตรวจสุขภาพทุกปีก็เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในตำแหน่งและประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น จึงหามีผลเป็นการต่อสัญญาจ้างเป็นรายปีไม่ ดังนั้นเมื่อสัญญาจ้างฉบับหลังสิ้นสุดลงและจำเลยจ้างโจทก์ต่อมาจึงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่ยังคงไว้ซึ่งความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิม

Q13:หากมีข้อสัญญาใดในสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ จะมีผลเป็นอย่างไร
A13:กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการว่าจ้าง การใช้แรงงาน และการจัดสวัสดิการที่จำเป็นในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอันดีและได้รับค่าตอบแทนตามสมควร นายจ้างมีแรงงานในการผลิตหรือบริการที่คงสภาพในระยะยาว ประเทศมีความเจริญทางเศรษฐกิจและมีความสงบมั่นคงทางสังคม สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างข้อใดที่เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเป็นโมฆะ

Q14:จากถาม-ตอบคราวที่แล้วที่บอกว่าสัญญาจ้างแรงงานนั้นไม่จำเป็นต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วเราจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าระหว่างนายจ้างและลูกจ้างมีความสัมพันธ์กัน
A14:สัญญาจ้างแรงงานไม่จำเป็นต้องทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร สลิปเงินเดือนที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง เอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมหรือกรมสรรพากรสามารถใช้พิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้ การบังคับบัญชาของนายจ้างต่อลูกจ้างก็สามารถใช้พิสูจน์ถึงความสัมพันธ์ได้

Q15:ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อทำงานครบ 120 วัน อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย อยากทราบว่าข้อยกเว้นนั้นมีอะไรบ้าง
A15:โดยปกตินายจ้างที่เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไปต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง แต่หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดตามมาตรา 119 ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 กำหนดเหตุที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้ดังนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
โดยปกตินายจ้างที่เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไปต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง แต่หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดตามมาตรา 119 ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 กำหนดเหตุที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไว้ดังนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

Q16:พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานกำหนดอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องให้จ่ายเงินต่าง ๆ ไว้อย่างไร
A16:การใช้สิทธิเรียกร้องให้นายจ้างหรือผู้มีหน้าที่จ่ายเงินต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงานนั้นตกอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานจึงมีอายุความดังนี้
ค่าจ้างตามสัญญาจ้าง ค่าจ้างสำหรับวันหยุด ค่าล่วงเวลา มีอายุความ 2 ปี อย่างไรก็ตาม ค่าชดเชยมีอายุความ 10 ปี

Q17:พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยไว้อย่างไร
A17:ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่จ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้างแต่ลูกจ้างลาออกจากงานไป ทิ้งงานไปหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
มาตรา 118 กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยไว้ว่า ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 30 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 90 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 180 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 240 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(5) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทํางาน 300 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

Q18:ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยใดหรือไม่หากนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ
A18:การจ่ายค่าชดเชยกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการณ์มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการจากที่เดิมไปตั้งอยู่ที่ใหม่ในสถานที่ห่างไกลไปจากที่เดิมมากจนลูกจ้างตามไปทำงานด้วยไม่ได้ นายจ้างมีหน้าที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ หากไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบโดยถูกต้องตามกฎหมายก็ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วันตามมาตรา 120 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

Q19:นายจ้างต้องรับผิดชอบจ่ายเงินค่าทดแทนแก่ลูกจ้างในกรณีประสบอันตราย กรณีเจ็บป่วยแม้อันตรายจะเกิดขึ้นจากการทำงานของลูกจ้างที่นายจ้างไม่เกี่ยวข้องเลย มีข้อยกเว้นใดที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนหรือไม่
A19:พระราชบัญญัติเงินทดแทน มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้
(2) ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนประสบอันตราย

Q20:ระหว่างการทำงานของลูกจ้าง หากลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลอื่น นายจ้างต้องรับผิดด้วยหรือไม่?
A20:หากลูกจ้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลอื่นในระหว่างที่ทำงานนั้น นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย

【Q&A สัญญาเช่า】

Q1. สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปีซึ่งทำเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนกับเจ้าหน้าที่มีผลบังคับใช้ได้หรือไม่?
A1. สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปีซึ่งทำเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนมีผลใช้บังคับได้สมบูรณ์ แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่ได้นำไปจดทะเบียน ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น

Q2:หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้เช่ามีอย่างไรบ้าง?
A2:ผู้ให้เช่าจำต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว ผู้ให้เช่าจำต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายใดๆที่จำเป็นและสมควรในการรักษาทรัพย์สินให้แก่ผู้เช่า ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และผู้ให้เช่าต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น

Q3:ถ้าผู้เช่าตาย ทายาทสามารถเช่าทรัพย์สินต่อได้หรือไม่?
A3:สัญญาเช่าเป็นสัญญาที่พิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้เช่า สัญญาเช่าจึงมีคุณสมบัติเป็นการเฉพาะตัว ดังนั้นเมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าย่อมระงับไป ทายาทจึงไม่มีสิทธิเช่าทรัพย์สินนั้นได้

Q4:ถ้าผู้ให้เช่าตาย สัญญาเช่าระงับหรือไม่?
A4:ไม่ระงับไป ต่างจากกรณีที่ผู้เช่าตายเนื่องจากคุณสมบัติของผู้ให้เช่าไม่ใช่คุณสมบัติเฉพาะตัว เพราะฉะนั้นหากผู้ให้เช่าตาย สัญญาเช่าย่อมตกทอดไปยังทายาท ทายาทต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อผู้เช่า

Q5:สัญญาเช่ายังบังคับใช้ได้ต่อไปหรือไม่หากมีการโอนทรัพย์สินที่เช่าไปยังบุคคลภายนอก?
A5:สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าเดิมนั้นด้วย

【Q&A การดำเนินคดีทางแพ่ง】

Q1. โจทก์สามารถยื่นคำฟ้องได้ที่ไหน?
A1.โจทก์สามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิด
ถ้าเป็นคำร้องที่ไม่มีข้อพิพาท โจทก์สามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
ในกรณีที่คำฟ้องเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล

Q2.กความจำเป็นต้องไปปรากฏตัวต่อศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาความแพ่งใดๆ หรือไม่
A2. กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ลูกความต้องไปปรากฏตัวต่อศาล ลูกความสามารถแต่งทนายโดยให้ทนายความจัดการกระบวนการทั้งหมดแทนลูกความได้ แต่ลูกความจำเป็นต้องไปขึ้นศาลหากปรากฏว่าเขามีชื่ออยู่ในบัญชีระบุพยาน

【Q&A Trademark】

Q1.เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิหรือความคุ้มครองในเครื่องหมายการค้าอะไรบ้าง?
A1.ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วจะมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วแต่เพียงผู้เดียว (exclusive right) และสิทธิที่จะป้องกัน นำคดีไปสู่ศาล เรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า (prohibitive right)

Q2.นายทะเบียนใช้ระยะเวลาในพิจารณาคำขอจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการนานเท่าใด
A2.หลังจากยื่นคำขอจดเบียนแล้ว นายทะเบียนจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้ามีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่ (เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นเครื่องหมายเครื่องการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว) ระยะเวลาที่นายทะเบียนตรวจสอบปกติแล้วจะใช้ระยะเวลาประมาณ 7-9 เดือน

Q3..จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าของเราเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน
A3.ความเหมือนคล้าย รูป (Logo) เครื่องหมายการค้า สามารถตรวจสอบได้ที่ระบบเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/tmonline.html ก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน
นอกจากนั้นแล้วในการพิจารณาว่าจะจดทะเบียนได้หรือไม่นั้น เราควรตรวจสอบจำพวกของสินค้าที่เครื่องหมายการค้าที่เราต้องการได้รับความคุ้มครองด้วย เครื่องหมายการค้าต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วในจำพวกเดียวกัน ดังนั้นเราจึงแนะนำคุณให้ตรวจสอบก่อนจะยื่นคำขอจดทะเบียน

Q4. อัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอย่างไร
A4. สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ 1,000 บาท
สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก มากกว่า 5 อย่าง เหมาจ่าย 9,000 บาท

Q5. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าของเราเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน
A5. ความเหมือนคล้าย รูป (Logo) เครื่องหมายการค้า สามารถตรวจสอบได้ที่ระบบเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/tmonline.html ก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน
นอกจากนั้นแล้วในการพิจารณาว่าจะจดทะเบียนได้หรือไม่นั้น เราควรตรวจสอบจำพวกของสินค้าที่เครื่องหมายการค้าที่เราต้องการได้รับความคุ้มครองด้วย เครื่องหมายการค้าต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วในจำพวกเดียวกัน ดังนั้นเราจึงแนะนำคุณให้ตรวจสอบก่อนจะยื่นคำขอจดทะเบียน

Q6. ข้อกำหนดที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าสามารถจดทะเบียนได้มีอะไรบ้าง?
A6. เครื่องหมายการค้าที่สามารถนำไปจดทะเบียนได้ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่ต้องห้ามตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าและต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับรเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว

Q7. เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิหรือความคุ้มครองในเครื่องหมายการค้าอะไรบ้าง?
A7. ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วจะมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วแต่เพียงผู้เดียว (exclusive right) และสิทธิที่จะป้องกัน นำคดีไปสู่ศาล เรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า (prohibitive right)

Q8. นายทะเบียนใช้ระยะเวลาในพิจารณาคำขอจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการนานเท่าใด
A8. หลังจากยื่นคำขอจดเบียนแล้ว นายทะเบียนจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้ามีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้หรือไม่ (เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นเครื่องหมายเครื่องการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว) ระยะเวลาที่นายทะเบียนตรวจสอบปกติแล้วจะใช้ระยะเวลาประมาณ 7-9 เดือน

【Q&A เครื่องหมายการค้า】

Q1.สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง
A1.พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 15 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

Q2.ลิขสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองนานเท่าใด
A2.พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 19 คุ้มครองลิขสิทธิ์ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลา 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

Q3.First-Sale doctrine คืออะไร
A3.First-sale doctrine หรือ Exhaustion of right ปรากฏในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 32/1 การจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธ์ในต้นฉบับ หรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ยกตัวอย่างเช่น หาก ข. ต้องการจะขายหนังสือที่ตนอ่านจบแล้วแต่ต้องขออนุญาตจาก ก. ผู้แต่งหนังสือก่อน กรณีเช่นนี้น่าจะเกิดปัญหาขึ้น กฎหมายจึงแก้ปัญหาโดยถือว่าทันทีที่มีการจำหน่ายสำเนา สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์จะระงับไป

Q4.บทบัญญัติว่าด้วยการริบและทำลายสิ่งของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ถูกแก้ไขอย่างไร
A4.มาตรา 75 บรรดาสิ่งที่ได้ทําขึ้นหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งให้ทําให้สิ่งนั้นใช้ไม่ได้หรือจะสั่งทําลายสิ่งนั้นก็ได้โดยให้ผู้กระทําละเมิดเสียค่าใช้จ่ายในการนั้น ก่อนหน้าที่จะมีการแก้ไขกฎหมาย บรรดาสิ่งของที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสีย เห็นได้จากมาตรา 75 กฎหมายเดิม

Q5.ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง
A5.ข้อตกลงทริปส์ มาตรา 13 ระบุไว้ว่า ประเทศสมาชิกสามารถจากัดหรือยกเว้นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ในกรณีที่เป็นกรณีเฉพาะและไม่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามปกติในงานนั้นและไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าของ ประเทศไทยได้นำหลักการเรื่องนี้มาบัญญัติไว้ในมาตรา 32 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฎโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบข้อสอบ